บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาแรด

 ปลาแรด

ไฟล์:Giant Gourami in Bronx Zoo.jpg
ปลาแรด มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียวและหมู่เปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า
 “ปลาเม่น”กาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลางพบตามแม่น้ำ ลำคลอง  ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัด
พระนครศรีอยุธยาภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ
ธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การ
เลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมีอยู่เฉพาะบริเวณแถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อ
ดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อยการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมากจะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้าง
ขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ ผลผลิตปลาแรดที่เลี้ยงในกระชัง
ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  อุปนิสัย
                ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบเป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่
เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่ายโดยวิธีการให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์
ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทนเมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้
นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ใน
หัวตอนเหนือเหงือก  โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ    ทำให้ปลามี
ชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

  รูปร่าง
                ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ
ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นปลาที่ค่อนข้างอดทน   มีลำตัวสั่นป้อมและแบนข้าง   หัวค่อนข้างเล็ก
ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทาครีบหลังครีบก้นยาวมากครีบหลัง
มีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน  ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน  ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน
ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน  ก้านครีบอ่อน 5 อัน  ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว  ครีบหางกลม
เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ดมีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ
จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้นลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อแต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด   เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอน
บนของลำตัวค่อนข้างเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

  การอนุบาลลูกปลา
                บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว
/ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร  และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน
1:3 สาดให้ทั่วบ่อ  หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้ม  หรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  อนุบาลจน
กระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1ซม.
 เดือนที่ 2 จะมีความยาว 2-3 ซม.ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการ
เพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลุกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไป
เลี้ยงเป็นปลาขนาดโต และปลาสวยงามราคาตัวละ 3-4 บาท

  วิธีการเลี้ยง
        สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยม มี 2 ลักษณะคือ
                1.การเลี้ยงในบ่อดิน
                2.การเลี้ยงในกระชัง
        1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง1-5 ไร่ จะใช้ เวลาเลี้ยง 1 ปี
ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อจะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืช อื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำ   หรือ
วัชพืชขึ้น   เพื่อใช้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว   ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน  ผักพังพวย
ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ใส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความ
สวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่
ในที่แคบได้   แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า   นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว  ยังนิยมเลี้ยงในกระชังเช่นที่แม่น้ำ
สะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
       2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจาก กระชังไม้
มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่งขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชังดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลา
ในกระชังจะต้องสร้างแพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันและเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่
เหลี่ยม   เพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร   กระชังดังกล่าวสามารถเลี้ยง
ปลาแรดขนาด 3นิ้ว ได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง  และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000
บาทกระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชัง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังเลี้ยงปลา ซึ่งใช้ไม้
เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอย
น้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมันปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยง
ปลา ประกอบด้วย
            1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี.
            2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน
 โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
            3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่
เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้
                        กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี    
                        กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
                        กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
    บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยง
ปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรค
ปลา ข้อกำจัดของการเลี้ยงในกระชัง
            1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียง
กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะ  และไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ใน
บริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
            2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่อง
กระชัง ปลาจะลอดหนึจากจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
            3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุด
ก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง
            4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับ
ปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

  อัตราการปล่อย
                    จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มี
อัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด  และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อขนาด 400 ตารางเมตร  ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน
จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาทในช่วงเวลาเพียง 8
เดือนเท่านั้น

  อาหาร
                ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินอาหารพวกสัตว์ เล็ก ๆ
ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง
แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้
ให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราวก็ให้ผลการเจริญเติบโตดี ปลาแรดชอบมาก
เหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย
 อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25% ชนิดอาหาร % โดยน้ำหนัก
ปลาป่นอัดน้ำมัน 12 กากถั่วลิสงป่น 23 รำละเอียด 40 ใบกระถินป่น 4 วิตามินและแร่ธาตุ 1 ปลายข้าวหัก 20
รวม 100

  การเจริญเติบโต
                ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.
                ลูกปลาแรดอายุ 6 เดืนน จะมีความยาว 10-15 ซม.
                ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.

  การป้องกัน
                ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดัง
กล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลาสำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบ
คุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

  โรคและศัตรู
                โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฏว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา
 ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น
ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

  ต้นทุนและผลตอบแทน
                การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลง
ทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479
บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้กำไร 32% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง
                แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ปลามาจากการรวบรวมจาก
แหล่งน้ำธรรมชาติและการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการ
ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้ก็นับว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะสามารถกำ
หนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วยอันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยง
ปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อและปลาสวย
งาม นอกนากการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ขณะนี้มีเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลานิลในกระชัง

เพาะพันธุ์ปลาแรด เลี้ยงเองดีกว่า




ในบรรดาปลาน้ำจืด ปลาแรด หรือปลาเม่น ได้รับความนิยมในด้านของการบริโภคไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ปลาทับทิม ปลานิล ปลาสลิด และปลาช่อน ด้วยความที่ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีเนื้อนุ่มรสชาติดี และสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารเอร็ดอร่อยได้หลากหลายชนิดนั่นเอง รับรองได้ว่าอร่อยไม่แพ้เนื้อปลาราคาแพงๆ ที่สั่งซื้อมาจากประเทศ

แหล่ง ที่เลี้ยงปลาแรดเป็นอาชีพกันมาก ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคกลาง แถวๆ จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี อุทัยธานี และปทุมธานี ซึ่งตลาดรับซื้อนั้น นอกจากตามร้านอาหารแล้ว ยังมีตลาดสดทั้งในท้องถิ่นและต่างถิ่น อาทิ ตลาดสี่มุมเมือง จังหวัดปทุมธานี ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ตลาดสุวพันธ์ จังหวัดอ่างทอง ตลาดบางเลน จังหวัดนครปฐม และองค์การสะพานปลา กรุงเทพมหานคร

ร้าน อาหารที่รับซื้อปลาแรดส่วนมากต้องการเฉพาะปลาเป็นๆ ทั้งนี้ เพราะว่าสามารถเลี้ยงโชว์ให้ลูกค้าได้เห็น และเมื่อนำไปแปรรูปเนื้อจะหวานอร่อยด้วย

ราคารับซื้อปลาเป็นๆ นั้นแพงกว่าปลาตาย โดยเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งต้องใช้เวลาและพาหนะเพิ่มนั่นเอง

การ ขนส่งพาปลาเป็นๆ ไปขายนั้น ผู้เลี้ยงหรือพ่อค้าคนกลางจำเป็นต้องพักปลาก่อน กล่าวคือ นำปลาจากบ่อดินมาพักในบ่อปูนสักประมาณ 1-2 อาทิตย์ ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาปรับสภาพ และป้องกันไม่ให้มีกลิ่นโคลนติดตัวปลาไป ซึ่งมีผลต่อรสชาติของผู้บริโภคด้วย

ในแถบ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีการเลี้ยงปลาแรดกันมาก และผลผลิตส่วนหนึ่งก็นำส่งขายปลาเป็นให้กับร้านอาหารที่กรุงเทพฯ

ผู้ เลี้ยงปลาหรือพ่อค้าคนกลาง จะใช้รถกระบะบรรทุกถังไฟเบอร์กลาส ใส่น้ำ และติดตั้งแอร์ปั๊ม แล้วจับปลาแรดจากบ่อมาใส่ถัง เดินทางส่งสินค้าให้ลูกค้า

ปลาแรดสามารถอยู่ในถังไฟเบอร์กลาสที่มีออกซิเจนได้นานหลายๆ ชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอัตราหนาแน่นที่ปล่อยปลาลงไป

กล่าว สำหรับพันธุ์ปลาแรดที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงนั้น จะไม่เพาะขยายพันธุ์เอง ส่วนใหญ่ซื้อมาจากฟาร์มเพาะฟักของเอกชน ซึ่งมีมากอยู่ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และจากหน่วยงานที่สังกัดกรมประมง อาทิ สถานีประมงน้ำจืด จังหวัดอุทัยธานี โทร. (056) 513-040, (056) 514-894 สถานีประมงน้ำจืด จังหวัดชัยนาท โทร. (056) 411-304 และสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดปทุมธานี โทร. (02) 569-1940

เหตุที่ชาวบ้านไม่นิยมเพาะขยายพันธุ์ เพราะว่าไม่มีความชำนาญหรือความรู้ในการจัดการ จึงซื้อพันธุ์มาเลี้ยง ซึ่งสะดวกและรวดเร็ว

อย่าง ไรก็ตาม มีข้อเสีย คือต้นทุนในการผลิตก็จะสูง ด้วยว่า ลูกปลาแรดราคาอยู่ประมาณ 1-3 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดปลา มิหนำซ้ำผู้เลี้ยงไม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกปลาซื้อมามีคุณภาพดีหรือไม่

ผม มีเพื่อน ชื่อ นายดำ ณ พลฤทธิ์ อยู่ที่บ้านวังวัว ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช อยากเลี้ยงปลาแรด เพราะว่ามีบ่อดินเพิ่งขุดเสร็จใหม่ๆ 1 ไร่ ขับรถกระบะขึ้นมาหาผม จากนั้นเราก็เดินทางไปซื้อพันธุ์ปลาแรด ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ที่ นี่มีหลายรายที่เพาะขยายพันธุ์ปลาแรดขาย เพื่อนผมซื้อลูกปลาตัวเล็กๆ เท่าเหรียญห้า ตัวละ 1.50 บาท จำนวน 6,000 ตัว นำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินดังกล่าว

ช่วงแรกๆ ซื้ออาหารสำเร็จรูปให้ลูกปลากินทุกวัน ย่างเข้าเดือนที่ 3 ช้อนปลาขึ้นมาดู พบว่าตัวไม่ใหญ่มากนัก บางตัวก็ยังเท่าเดิมอยู่

ความท้อแท้ก็เข้ามาเยือน และนั่งคิดว่า ทำไมปลาไม่โต ทั้งๆ ที่ปลากินอาหารเกือบทุกวัน

เขา เก็บข้อคิดดังกล่าวมาถาม ผมบอกว่า เราอาจจะไปซื้อลูกปลาที่มีคุณภาพต่ำ หรือหางปลามาเลี้ยงก็ได้ เขาทนเลี้ยงปลาต่อไปอีก จนครบ 1 ปี ปรากฏว่า ปลาตัวโตไม่เท่ากัน และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2-5 ขีด เท่านั้น

หลังจากนั้น นายดำก็เลิกกิจการ แล้วหันไปเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยตามเพื่อนบ้านแทน และประสบความสำเร็จ

เหตุ ที่ผมยกตัวอย่างการเลี้ยงปลาแรดของนายดำมาเผยแพร่ ก็เพราะผมอยากให้เห็นว่า ปลาแรด แม้ว่าเป็นปลากินพืชที่เลี้ยงง่าย แต่ถ้าว่าไม่ให้ความสำคัญต่อสายพันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยงก็ประสบความสำเร็จได้ ยากเหมือนกัน

ปลาทุกชนิด ที่มีการเพาะขยายพันธุ์ และให้ผลผลิตออกมา จะมีหัวปลากับหางปลา หากนำหัวปลามาเลี้ยงขุน ส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตเร็ว ตรงกันข้ามถ้านำหางปลามาเลี้ยงก็โตช้ามาก แม้ว่ากินอาหารมากก็ตาม

ฉะนั้น หากคิดเลี้ยงสัตว์น้ำก็ต้องพึงระวังในส่วนนี้ด้วย ควรที่จะสอบถามกับผู้ผลิตว่า ลูกพันธุ์ปลาที่ได้มาเป็นหัวปลาหรือหางปลา ถ้าไม่แน่ใจก็เพาะขยายพันธุ์เองดีกว่า ซึ่งปลาแรดนี้ทำไม่ยากอะไรเลย เพียงแต่เรามีความตั้งใจจริงเท่านั้นเอง

กรม ประมงได้ศึกษาเรื่องการเพาะขยายพันธุ์ปลาแรดและประสบความสำเร็จแล้ว วันนี้ผมขอนำผลงานดังกล่าวมาเผยแพร่ หลังจากสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง ได้ทำหน้าที่ไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ความรู้กระจายไปสู่ผู้สนใจมากขึ้น

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาแรด

ตาม ปกติปลาแรดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะจำแนกความแตกต่างได้ชัดก็ต่อเมื่อมีขนาดสมบูรณ์พันธุ์ โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกของตัวปลา คือตัวผู้ที่โคนครีบหูจะมีสีขาวและมีนอ ที่หัวโหนกสูงขึ้นจนเห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียที่โคนครีบหูมีสีดำอย่างเห็นได้ชัด

ถ้าแม่ปลาตัวเมียพร้อมวางไข่สังเกตได้ว่าท้องอูมเป่ง

ปลา แรดตัวเมียเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม มีไข่ประมาณ 2,000-4,000 ฟอง แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง ต่อปี

สำหรับอัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่ปลาเพื่อผสมพันธุ์นั้น ใช้เพศผู้ 2 ตัว ต่อเพศเมีย 1 ตัว โดยปล่อยปลา 1 ตัว ต่อพื้นที่ 3-5 ตารางเมตร

ปลา แรดมีปริมาณไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนสิงหาคม ดังนั้น ควรขุนพ่อแม่พันธุ์ปลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โดยใช้อาหารเม็ดลอยน้ำโปรตีนสูงหรืออาหารปลาดุกที่มีโปรตีน 25-30 เปอร์เซ็นต์ ให้ปริมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาในบ่อ และควรเสริมด้วยอาหารสมทบประเภทพืช เช่น จอก สาหร่าย แหน กล้วยน้ำว้าสุก ผักต่างๆ เป็นต้น

สำหรับบ่อเพาะพันธุ์นั้น ควรเป็นบ่อดินขนาด 0.5-1 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการดูแลการวางไข่ และการรวบรวมไข่ปลามาอนุบาล

ภายในบ่อใส่ผักบุ้งหรือวัชพืชน้ำ เพื่อให้ปลานำไปใช้ในการสร้างรัง หรือจะใช้วัสดุอื่น เช่น เศษเชือกฟางสีต่างๆ

ในส่วนของวัชพืช น้ำหรือวัสดุที่ใส่เพื่อให้ปลาสร้างรังนั้นควรวางกระจายเป็นจุดๆ ทั่วบ่อเพาะพันธุ์ เนื่องจากพ่อแม่ปลาจะสร้างอาณาเขตในการดูแลรังของมัน หรืออาจใช้คอกที่สร้างขึ้นบริเวณตลิ่งที่เป็นคุ้งของลำน้ำที่กระแสน้ำไม่แรง นักเป็นที่เพาะปลาแรดได้เช่นเดียวกับการเพาะในบ่อ

หลังจากปล่อยพ่อ แม่พันธุ์ปลาแรดลงในบ่อเพาะพันธุ์แล้วให้สังเกตการวางไข่ทุกวัน โดยปลาแรดจะใช้พืชจำพวกรากผักบุ้ง กิ่งไม้ รากหญ้า หญ้าแห้ง และวัสดุอื่นๆ ที่มีในบ่อนำมาสร้างรัง

ลักษณะของรังปลาแรด จะมีลักษณะคล้ายรังนก รูปร่างกลมๆ และมีฝาปิดรัง ขนาดรังทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1 ฟุต โดยปลาแรดใช้เวลาในการสร้างรังประมาณ 3-5 วัน แม่ปลาจึงวางไข่

หาก ต้องการรู้ว่าแม่ปลาวางไข่แล้วหรือยัง ให้สังเกตได้จากคราบไขมันที่ลอยบนผิวน้ำเหนือรังที่แม่ปลาทำไว้ ถ้าพบว่ามีคราบไขมันบนผิวน้ำที่มีรังไข่ปลาแรดอยู่ หรือเมื่อจับดูที่รังแล้วพบว่า รังปิด หรือเมื่อเห็นแม่ปลามาคอยเฝ้าดูแลรังและฮุบน้ำโบกหางอยู่ใกล้ๆ รัง แสดงว่า ปลาวางไข่แล้ว จากนั้นตักรังไข่ขึ้นมา คัดเลือกเฉพาะไข่ที่ดี คือมีลักษณะสีเหลืองมันวาว ไปพักในบ่อฟักไข่ต่อไป

ไข่ของปลาแรดเป็น ประเภทไข่ลอย เมื่อปลาแรดวางไข่แล้ว ให้นำรังไข่ขึ้นมาแล้วตักเฉพาะไข่ดี และควรช้อนคราบไขมันออก มิฉะนั้นแล้วจะทำให้น้ำเสียและลูกปลาที่ฟักออกมาติดเชื้อโรคง่าย ต่อจากนั้นรวบรวมไข่ที่ดีใส่ถังกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ระดับน้ำประมาณ 30-50 เซนติเมตร ให้เครื่องเป่าอากาศเบาๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เพื่อช่วยในการดูดซับไขมันและให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ จะฟักไข่ในบ่ออนุบาลหรือฟักไข่ในกระชังผ้าโอลอนแก้ว ซึ่งมีโครงร่างสี่เหลี่ยมขนาด 2 x 1 x 0.5 เมตร และมีหูเกี่ยวหรือโครงเหล็กถ่วงที่พื้น เพื่อให้กระชังตึงคงรูปอยู่ได้

ในระหว่างการฟักควรเพิ่มอากาศหรือน้ำลงในกระชัง เพื่อไล่ไขมันที่ติดมากับไข่ออกให้มากที่สุด

ไข่ จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 18-36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆ ตัวอ่อนจะลอยหงายท้องอยู่และรวมอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณพืชน้ำหรือรากผักบุ้ง

สำหรับการอนุบาลลูกปลาแรดนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะ 1-5 วัน หลังจากเก็บไข่ออกจากรังและฟักออกเป็นตัวแล้ว ช่วงนี้ยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลาจะใช้อาหารที่มีติดตัวมาเรียกว่า "ถุงไข่แดง" ซึ่งติดอยู่ตรงบริเวณท้องลูกปลาวัยอ่อน ในระยะนี้จะไม่ค่อยว่ายน้ำ และชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ

ระยะ 6-15 วัน ลูกปลาจะมีสีเข้มขึ้น ระยะนี้เรียกว่า ระยะถุงไข่แดงยุบ ในช่วงนี้เริ่มให้ไรแดงเป็นอาหาร โดยให้วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ลูกปลาจะเริ่มแตกกลุ่ม อยู่กระจายทั่วไปในบ่ออนุบาล

ระยะ 16-15 วัน ระยะนี้จะย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อดิน อัตราปล่อย 100,000 ตัว ต่อไร่ หรือประมาณ 60-65 ตัว ต่อตารางเมตร บ่ออนุบาลควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร ส่วนการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ ควรใช้อัตราส่วน 5 ตัว ต่อตารางเมตร

ใน ช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดิน ยังคงให้ไรแดงเป็นอาหารอยู่และเริ่มให้รำผสมปลาป่น ในอัตรา 1: 3 ผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อ เมื่อปลามีขนาดโตขึ้น จึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำหรืออาหารต้มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาในบ่อ อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาดความยาว 2-3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในบ่อดินให้เติบโตได้ตามขนาดตลาดต้อง การต่อไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2565 เวลา 21:30

    Merit Casino review - YN Games
    At the moment, we're focused on 메리트 카지노 쿠폰 the Merit Casino site, and also the casino itself. The site is also owned 메리트 카지노 and operated by Play'n GO. Play'n 카지노 GO's software

    ตอบลบ